แชร์

ไฟทอปธอรา ในทุเรียน

อัพเดทล่าสุด: 1 เม.ย. 2025
18 ผู้เข้าชม
เชื้อราไฟทอปธอรา สาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า โรคใบไหม้ดำ และโรคผลเน่า ในทุเรียน

เนื่องจากเชื้อไฟทอปธอรา เป็นเชื้อราก่อโรคที่อาศัยอยู่ในดินและเข้าทำลายทุเรียนได้ทุกส่วน

แม้แต่ส่วนของใบหรือผลที่อยู่สูงจากพื้น

เชื้อราไฟทอปธอรา จะสร้างซูโอสปอร์ (zoospore) และคลามายโดสปอร์ (chlamydospore) ไว้ในดินต่อเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมและรากพืชเจริญเข้ามาใกล้สปอร์ จะสร้างเส้นใยแทงเข้าทางปลายรากฝอยและทำลายระบบท่อลำเลี้ยงของทุเรียนจากบริเวณรากและโคนต้นก่อน แล้วจึงลุกลามแพร่สู่ส่วนที่อยู่สูงขึ้นไป หรือในสภาวะที่ฝนตกชุกและความชื้นสูง

คลามายโดสปอร์จะสร้างเส้นใยแล้วเส้นใยนั้นจะผลิตซูโอสปอร์หรือซูโอสปอร์ที่อาศัยในดิน

อยู่แล้วจะโผล่พ้นเหนือดินและแพร่กระจายไปในอากาศ โดนลม ไปกับน้ำ หรือฝนทำให้ส่วนอื่นๆของต้นทุเรียนไม่ว่าจะเป็น ใบ กิ่ง ยอดอ่อน หรือผลติดโรคได้

 

ส่วนต่างๆของทุเรียนที่ติดโรคจากเชื้อราไฟทอปธอรา จะมีชื่อเรียกของโรคตามส่วนของต้น

ที่เกิดโรค เช่น

- โรครากเน่าโคนเน่า : เกิดการติดเชื้อที่บริเวณราก โคนต้น หรือส่วนของลำต้น

- โรคใบไหม้ไฟทอปธอรา : เกิดการติดเชื้อที่ใบ โดยลม น้ำหรือฝน เป็นตัวนำพาเชื้อมาสัมผัสกับใบ แผลไหม้จะมีสีดำหรือเทาอมดำ

- โรคกิ่งเน่าตายหรือโรคกิ่งเน่า : การติดเชื้ออาจเกิดจากการลุกลามของโรคจากบริเวณลำต้น หรือติดมากับลม-ฝน

- โรคผลเน่า : เกิดติดเชื้ออาจเกิดได้ทั้งแบบโรคกิ่งเน่าตาย โดยผ่านทางขั้วผล หรือติดมากับลม-ฝน

 

การป้องกันกำจัด

ใช้ เฮอร์ริเทจ สารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีคุณสมบัติอันโดดเด่น ดังนี้

- ดูดซึม-แทรกซึมเข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว

- ดูดซึมผ่านรากได้ดี

- กระตุ้น การสร้างภูมิต้านทานโรค

- ละลายน้ำง่าย

- ป้องกันกำจัดเชื้อราได้ทุกระยะ

พ่น เฮอร์ริเทจ อัตรา 50-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ลำต้น กิ่ง และผล

โดยพ่นทุก 7-14 วัน หรือใช้ทาบริเวณราก โคนต้น ลำต้น และกิ่ง ที่มีอาการแผลเน่า

และบริเวณข้างเคียง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy