ทำความรู้จักกับเพลี้ยไฟ
อัพเดทล่าสุด: 1 เม.ย. 2025
22 ผู้เข้าชม
เพลี้ยไฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirtothrips doralis Hood)
เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ลำตัวแคบและแบน
มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ส่วนตัวเต็มวัยมีสีดำหรือสีน้ำตาล
เพลี้ยไฟมีปากแบบแทงดูด ทำให้สามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชได้
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืช
วงจรชีวิตเพลี้ยไฟในแต่ละช่วง
1.ระยะไข่ 3-4 วัน
2.ระยะตัวอ่อน 5-6 วัน (ไม่มีปีก เข้าทำลายพืช)
3.ระยะก่อนเข้าดักแด้ 2-3 วัน
4.ระยะดักแด้ 3-5 วัน (อยู่ในดิน ไม่กินอาหาร)
5.ระยะตัวเต็มวัย 14-24 วัน (มีปีก เข้าทำลาย)
การแพร่ระบาด
การแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟมักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งหรือสภาพอากาศร้อน
ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
ทำให้พืชขาดน้ำ เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ซึ่งมีกระแสลมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วย
ในการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ก็จะเข้าทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ
ของลำตัน ในทางกลับกัน หากเป็นช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน หรือฝนตกหนักก็จะช่วยลดจำนวนเพลี้ยไฟลงได้ ดังนั้นวิธีที่จะช่วยลดความเสียหายจากการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟ คือ
การให้น้ำพืชอย่างเพียงพอ ไม่ปล่อยให้ต้นขาดน้ำเป็นเวลานาน
การป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ
หนึ่งในวิธีการป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ คือการใช้สารเคมีกลุ่ม "อะบาเมกติน (abamectin)" ของ "บาการ์ด"
โดยมีบทบาทรบกวนการส่งสัญญาณของระบบประสาทของศัตรูพืช มีฤทธิ์เป็นพิษต่อกระเพาะอาหารและฆ่าเชื้อโรคได้ หลังจากได้รับพิษ ศัตรูพืชจะเป็นอัมพาต อ่อนแรง และไม่ยอมกินอาหารภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง และในที่สุดศัตรูพืชจะตายเพราะไม่สามารถกินหรือหายใจได้ โดยทั่วไปแมลงตายจะมีจุดสูงสุดใน 2-4 วัน โดยการผสม "บาการ์ด" ในอัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยไฟ
เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ลำตัวแคบและแบน
มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ส่วนตัวเต็มวัยมีสีดำหรือสีน้ำตาล
เพลี้ยไฟมีปากแบบแทงดูด ทำให้สามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชได้
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืช
วงจรชีวิตเพลี้ยไฟในแต่ละช่วง
1.ระยะไข่ 3-4 วัน
2.ระยะตัวอ่อน 5-6 วัน (ไม่มีปีก เข้าทำลายพืช)
3.ระยะก่อนเข้าดักแด้ 2-3 วัน
4.ระยะดักแด้ 3-5 วัน (อยู่ในดิน ไม่กินอาหาร)
5.ระยะตัวเต็มวัย 14-24 วัน (มีปีก เข้าทำลาย)
การแพร่ระบาด
การแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟมักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งหรือสภาพอากาศร้อน
ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
ทำให้พืชขาดน้ำ เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ซึ่งมีกระแสลมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วย
ในการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ก็จะเข้าทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ
ของลำตัน ในทางกลับกัน หากเป็นช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน หรือฝนตกหนักก็จะช่วยลดจำนวนเพลี้ยไฟลงได้ ดังนั้นวิธีที่จะช่วยลดความเสียหายจากการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟ คือ
การให้น้ำพืชอย่างเพียงพอ ไม่ปล่อยให้ต้นขาดน้ำเป็นเวลานาน
การป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ
หนึ่งในวิธีการป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ คือการใช้สารเคมีกลุ่ม "อะบาเมกติน (abamectin)" ของ "บาการ์ด"
โดยมีบทบาทรบกวนการส่งสัญญาณของระบบประสาทของศัตรูพืช มีฤทธิ์เป็นพิษต่อกระเพาะอาหารและฆ่าเชื้อโรคได้ หลังจากได้รับพิษ ศัตรูพืชจะเป็นอัมพาต อ่อนแรง และไม่ยอมกินอาหารภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง และในที่สุดศัตรูพืชจะตายเพราะไม่สามารถกินหรือหายใจได้ โดยทั่วไปแมลงตายจะมีจุดสูงสุดใน 2-4 วัน โดยการผสม "บาการ์ด" ในอัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยไฟ