การกำจัดวัชพืชในถั่วเหลือง
อัพเดทล่าสุด: 1 เม.ย. 2025
21 ผู้เข้าชม
ถั่วเหลือง เป็นพืชที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ เพราะมีความต้องการใช้ในประเทศสูง นำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางทั้งการบริโภคและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายรูปแบบ เช่น น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ เต้าเจี้ยว เป็นต้น
โดยวัชพืชที่พบและเป็นปัญหาในแปลงถั่วเหลืองพบทั้งวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง และกก
วัชพืชจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ และการเขตกรรมของเกษตรกร วัชพืชที่พบโดยทั่วไปมีดังนี้
1. หญ้านกสีชมพู (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Echinochloa colana (L.) Link)
ลำต้นตั้งตรงสูง 30-60 ซม. กอแผ่บนผิวดิน ใบมีความเรียวและเรียบ ออกดอกเมื่ออายุประมาณ 50 วัน ออกดอกได้ตลอดปีและมีวงจรชีวิตประมาณ 3 เดือน ชอบงอกในสภาพดินแห้งและมีความชื้น มักงอกพร้อมหรือหลังข้าว 1-2 สัปดาห์ ไม่สามารถยืดตัวหนีน้ำได้แต่ทนน้ำท่วมได้ 2 สัปดาห์
2. หญ้าตีนนก (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Digitaria ciliaris (Retz.) Koel)
ลำต้นทอดไปกับพื้นและยกสูงขึ้นได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร
กาบใบเกลี้ยง ลิ้นใบเป็นแผ่นยาว ช่อดอกมี 4-7 แขนง ช่อดอกย่อยซึ่งกระจายจากปลายโคนก้านลักษณะเหมือนพู่ มักพบในที่รกร้างและริมถนน
3. หญ้าตีนนก (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eleusine indica (L.) Gaertn.)
ลำต้นทอดนาบกับพื้นและยกสูงขึ้นได้ประมาณ 50-60 ซม. แผ่นใบแคบยาว มักพับทบครึ่ง กาบใบแบนเป็นสัน ผิวเรียบไม่มีขน หรือมีขนกระจายห่างๆ บนขอบกาบใบ ช่อดอกมี 2-10 ช่อดอกย่อยซี่งอยู่ติดกันตรงปลายโคนก้าน ออกดอกตลอดปี เมื่ออายุ 3-4 เดือน
และออกดอกมากในช่วงเดือนตุลาคม-มิถุนายน เมื่อดอกแก่มีสีฟาง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ขึ้นหนาแน่นตามที่แห้งถึงชื้นโดยทั่วไปแล้วจะงอกพร้อมข้าวและมักพบในที่รกร้างและริมถนน
4. หญ้าดอกขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leptochloa chinensis Nees)
ลำต้นตรงหรือโน้ม ความสูง 12-120 ซ.ม. ใบเรียบและปรกแหลมและเรียวยาว กาบใบเรียบ
มีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแผ่นบาง ออกดอกได้ตลอดปี ชอบขึ้นในสภาพดินแห้งถึงชื้น ไม่ชอบขึ้นในสภาพดินแฉะและไม่สามารถงอกใต้น้ำได้ หากงอกแล้วจะสามารถเจริญเติบโตได้ดี
ในสภาพน้ำขัง แต่ไม่สามารถยืดตัวหนีน้ำได้
การป้องกันกำจัดวัชพืชที่พบในแปลงถั่วเหลือง
"ไทแทน" มีสารในกลุ่ม cyclohexanedione oxime มีฤทธิ์ดูดซึมและเคลื่อนย้ายในวัชพืช หลังรับสารวัชพืชจะค่อย ๆ แสดงอาการใบเหลือง ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
และค่อย ๆ ตายลงในที่สุด ปลอดภัยต่อพืชปลูกใบกว้าง
กลไกออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซีทิล-โคเอ คาร์บอกซิเลส (ACCase) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้น
ในขั้นตอนแรกของการสังเคราะห์กรดไขมันและการสร้างผนังเซลล์ของวัชพืช
โดยวิธีใช้ "ไทแทน" ให้ฉีดพ่นหลังวัชพืชงอก โดยใช้อัตรา 100-120 มิลลิลิตร
ผสมกับน้ำ 60-80 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรืออัตรา 25-30 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 15-20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน หลังปลูกถั่วเหลืองและวัชพืชมีจำนวนใบ 3-5 ใบ
โดยวัชพืชที่พบและเป็นปัญหาในแปลงถั่วเหลืองพบทั้งวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง และกก
วัชพืชจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ และการเขตกรรมของเกษตรกร วัชพืชที่พบโดยทั่วไปมีดังนี้
1. หญ้านกสีชมพู (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Echinochloa colana (L.) Link)
ลำต้นตั้งตรงสูง 30-60 ซม. กอแผ่บนผิวดิน ใบมีความเรียวและเรียบ ออกดอกเมื่ออายุประมาณ 50 วัน ออกดอกได้ตลอดปีและมีวงจรชีวิตประมาณ 3 เดือน ชอบงอกในสภาพดินแห้งและมีความชื้น มักงอกพร้อมหรือหลังข้าว 1-2 สัปดาห์ ไม่สามารถยืดตัวหนีน้ำได้แต่ทนน้ำท่วมได้ 2 สัปดาห์
2. หญ้าตีนนก (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Digitaria ciliaris (Retz.) Koel)
ลำต้นทอดไปกับพื้นและยกสูงขึ้นได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร
กาบใบเกลี้ยง ลิ้นใบเป็นแผ่นยาว ช่อดอกมี 4-7 แขนง ช่อดอกย่อยซึ่งกระจายจากปลายโคนก้านลักษณะเหมือนพู่ มักพบในที่รกร้างและริมถนน
3. หญ้าตีนนก (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eleusine indica (L.) Gaertn.)
ลำต้นทอดนาบกับพื้นและยกสูงขึ้นได้ประมาณ 50-60 ซม. แผ่นใบแคบยาว มักพับทบครึ่ง กาบใบแบนเป็นสัน ผิวเรียบไม่มีขน หรือมีขนกระจายห่างๆ บนขอบกาบใบ ช่อดอกมี 2-10 ช่อดอกย่อยซี่งอยู่ติดกันตรงปลายโคนก้าน ออกดอกตลอดปี เมื่ออายุ 3-4 เดือน
และออกดอกมากในช่วงเดือนตุลาคม-มิถุนายน เมื่อดอกแก่มีสีฟาง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ขึ้นหนาแน่นตามที่แห้งถึงชื้นโดยทั่วไปแล้วจะงอกพร้อมข้าวและมักพบในที่รกร้างและริมถนน
4. หญ้าดอกขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leptochloa chinensis Nees)
ลำต้นตรงหรือโน้ม ความสูง 12-120 ซ.ม. ใบเรียบและปรกแหลมและเรียวยาว กาบใบเรียบ
มีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแผ่นบาง ออกดอกได้ตลอดปี ชอบขึ้นในสภาพดินแห้งถึงชื้น ไม่ชอบขึ้นในสภาพดินแฉะและไม่สามารถงอกใต้น้ำได้ หากงอกแล้วจะสามารถเจริญเติบโตได้ดี
ในสภาพน้ำขัง แต่ไม่สามารถยืดตัวหนีน้ำได้
การป้องกันกำจัดวัชพืชที่พบในแปลงถั่วเหลือง
"ไทแทน" มีสารในกลุ่ม cyclohexanedione oxime มีฤทธิ์ดูดซึมและเคลื่อนย้ายในวัชพืช หลังรับสารวัชพืชจะค่อย ๆ แสดงอาการใบเหลือง ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
และค่อย ๆ ตายลงในที่สุด ปลอดภัยต่อพืชปลูกใบกว้าง
กลไกออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซีทิล-โคเอ คาร์บอกซิเลส (ACCase) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้น
ในขั้นตอนแรกของการสังเคราะห์กรดไขมันและการสร้างผนังเซลล์ของวัชพืช
โดยวิธีใช้ "ไทแทน" ให้ฉีดพ่นหลังวัชพืชงอก โดยใช้อัตรา 100-120 มิลลิลิตร
ผสมกับน้ำ 60-80 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรืออัตรา 25-30 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 15-20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน หลังปลูกถั่วเหลืองและวัชพืชมีจำนวนใบ 3-5 ใบ